การจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสงขลา สาขา การศึกษา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
เดิมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นการประมาณทางอ้อม ตามวิธีการที่เรียกว่า “TOP DOWN” โดย จะแตกย่อยออกมาเป็นข้อมูลรายจังหวัด ตามสัดส่วนของตัวชี้วัดในสาขาการผลิตต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้สนับสนุนการวางแผนและการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดได้อย่างเต็มที่
ในปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลได้มีนโยบายให้ทุกจังหวัดจัดทำ ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเอง โดย ใช้วิธีการ “BOTTOM UP” จัดเก็บข้อมูลในพื้นที่เสร็จแล้ว จึงส่งเข้าต้นสังกัดในส่วนกลาง ประมวลผลภาพรวมเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในระดับจังหวัด กำหนดเป็น 16 สาขา คือ
(1) การเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ (A)
(2) การประมง (B)
(3) การทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน (C)
(4) การอุตสาหกรรม (D)
(5) การไฟฟ้า ก๊าซ และประปา (E)
(6) การก่อสร้าง (F)
(7) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และของใช้ (G)
(8) โรงแรม และภัตตาคาร (H)
(9) การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม (I)
(10)ตัวกลางทางการเงิน (J)
(11)บริการด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการธุรกิจ (K)
(12)การบริหารราชการแผ่นดิน การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ (L)
(13)การศึกษา (M)
(14)การบริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ (N)
(15)การบริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคล (O)
(16)ลูกจ้างในในครัวเรือนส่วนบุคคล (P)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดสงขลา
2. เพื่อให้มีข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด รายสาขา ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการผลิตของแต่ละจังหวัดมากที่สุด
3. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่บุคลากร ให้มีความเข้าใจโครงสร้าง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจังหวัด และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การดำเนินการในระดับจังหวัด
จังหวัดสงขลา แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสงขลา แต่ละสาขา สำหรับสาขาการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด จังหวัดจึงได้แต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 เป็นหัวหน้าคณะทำงานสาขาการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ที่ได้รับมอบหมาย เป็นเลขานุการคณะทำงาน และจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน โดยคณะทำงานมีหน้าที่
1. จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายสาขาให้ครอบคลุมกิจกรรมที่มีในจังหวัด รวมทั้งบรรณาธิกรณ์ข้อมูลรายสาขาตามหลักวิชาการ และบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล Excel โดยจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2546 (ตามปีปฏิทิน)เป็นต้นไป
2. จัดทำมูลค่าเพิ่มในแบบคำนวณที่กำหนด และแสดงอัตราการเจริญเติบโตระหว่างปี
3. รายงานผลข้อมูลมูลค่าเพิ่มตามตารางที่กำหนด พร้อมทั้งรายงานปัญหาอุปสรรคในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายสาขาส่งสำนักงานคลังจังหวัดสงขลา เพื่อรวบรวมประมวลผลเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ของจังหวัดในภาพรวม และนำเสนอจังหวัด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดต่อไป
ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
เดิมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นการประมาณทางอ้อม ตามวิธีการที่เรียกว่า “TOP DOWN” โดย จะแตกย่อยออกมาเป็นข้อมูลรายจังหวัด ตามสัดส่วนของตัวชี้วัดในสาขาการผลิตต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้สนับสนุนการวางแผนและการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดได้อย่างเต็มที่
ในปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลได้มีนโยบายให้ทุกจังหวัดจัดทำ ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเอง โดย ใช้วิธีการ “BOTTOM UP” จัดเก็บข้อมูลในพื้นที่เสร็จแล้ว จึงส่งเข้าต้นสังกัดในส่วนกลาง ประมวลผลภาพรวมเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในระดับจังหวัด กำหนดเป็น 16 สาขา คือ
(1) การเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ (A)
(2) การประมง (B)
(3) การทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน (C)
(4) การอุตสาหกรรม (D)
(5) การไฟฟ้า ก๊าซ และประปา (E)
(6) การก่อสร้าง (F)
(7) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และของใช้ (G)
(8) โรงแรม และภัตตาคาร (H)
(9) การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม (I)
(10)ตัวกลางทางการเงิน (J)
(11)บริการด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการธุรกิจ (K)
(12)การบริหารราชการแผ่นดิน การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ (L)
(13)การศึกษา (M)
(14)การบริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ (N)
(15)การบริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคล (O)
(16)ลูกจ้างในในครัวเรือนส่วนบุคคล (P)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดสงขลา
2. เพื่อให้มีข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด รายสาขา ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการผลิตของแต่ละจังหวัดมากที่สุด
3. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่บุคลากร ให้มีความเข้าใจโครงสร้าง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจังหวัด และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การดำเนินการในระดับจังหวัด
จังหวัดสงขลา แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสงขลา แต่ละสาขา สำหรับสาขาการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด จังหวัดจึงได้แต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 เป็นหัวหน้าคณะทำงานสาขาการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ที่ได้รับมอบหมาย เป็นเลขานุการคณะทำงาน และจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน โดยคณะทำงานมีหน้าที่
1. จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายสาขาให้ครอบคลุมกิจกรรมที่มีในจังหวัด รวมทั้งบรรณาธิกรณ์ข้อมูลรายสาขาตามหลักวิชาการ และบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล Excel โดยจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2546 (ตามปีปฏิทิน)เป็นต้นไป
2. จัดทำมูลค่าเพิ่มในแบบคำนวณที่กำหนด และแสดงอัตราการเจริญเติบโตระหว่างปี
3. รายงานผลข้อมูลมูลค่าเพิ่มตามตารางที่กำหนด พร้อมทั้งรายงานปัญหาอุปสรรคในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายสาขาส่งสำนักงานคลังจังหวัดสงขลา เพื่อรวบรวมประมวลผลเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ของจังหวัดในภาพรวม และนำเสนอจังหวัด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น